เมนู

แล้ว ชนเหล่านั้นไม่อยู่ใต้อำนาจของมาร
ไม่เดินไปในทางของมาร.

จบกัปปมาณวกปัญหาที่ 10

อรรถกถากัปปสูตร1ที่ 10


กัปปสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า มชฺเฌ สรสฺมึ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มชฺเฌ สรสฺมึ ท่านอธิบายว่า ในสาครอัน
เป็นท่ามกลางเพราะไม่มีเบื้องต้นที่สุดปรากฏ. บทว่า ติฏฺฐนฺตํ คือผู้ตั้งอยู่.
บทว่า ยถายิทํ นาปรํ สิยา กัปปมาณพทูลว่า ขอพระองค์จงตรัสบอก
ที่พึ่งแก่ข้าพระองค์โดยอุบายที่ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีกเถิด.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงพยากรณ์ความนั้นแก่กัปป-
มาณพนั้น จึงได้ตรัสคาถาสามคาถา.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อกิญฺจนํ ไม่มีเครื่องกังวล คือตรงกันข้าม
กับที่มีเครื่องกังวล. บทว่า อนาทานํ ไม่ยึดมั่น คือตรงกันข้ามกับ ความ
ยึดมั่น ท่านอธิบายว่า เข้าไปสงบความกังวลและความยึดมั่น. บทว่า อนาปรํ
หาใช่อย่างอื่นไม่ คือเว้นจากที่พึ่งอันไม่เป็นข้าศึกกับที่พึ่งอื่น. ท่านอธิบายว่า
เป็นที่พึ่งประเสริฐที่สุด. บทว่า น เต มารสฺส ปฏฺฐคู2 ได้แก่ชนเหล่านั้น
ไม่เดินไปในทางของมาร คือไม่เป็นศิษย์คอยบำรุงบำเรอมาร. บทที่เหลือใน
บททั้งปวงชัดเจนดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรม
เป็นยอดคือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถากัปปสูตรที่ 10 แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อปรมัตถโชติกา

1. บาลีเป็นกัปปปัญหา 2. ม. ปทฺธคู.